วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

"สถาปนิก Idol รุ่นพี่ลาดกระบัง"

"สถาปนิก Idol รุ่นพี่ลาดกระบัง"


คุณ ธนชัย ศิริสัมพันธ์ (น้าแอ๊ด)
ประวัติส่วนตัว 

         เกิดวันที่ 13 เมษายน 2498 กรุงเทพฯ
         การศึกษา ป.1  ถึง มศ. 5  โรงเรียนเซนต์คาเบรียล (เป็นเพื่อนซี้กับอาจารย์อนุสร)
                          ป.ตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
                          รหัส 16 สถ. 14  จบปีการศึกษา 2521 
                          "ตอนนั้นเลือกที่ลาดกระบังเป็นลำดับที่ 6 "
                          ป.ตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
                          ป.โท คณะรัฐศาสตร์  NIDA
                        

        "จบมาใหม่ๆ ก็ทำงานเขียนแบบ ออกแบบบ้าง แต่ส่วนตัวชอบอะไรเกี่ยวกับเครื่องบิน เลยอยากหางานที่เกี่ยวกับเครื่องบินทำ พอดีที่นี้ (กรมการบินพลเรือน) เค้าเปิดรับสถาปนิก เลยได้มีโอกาสเข้ามาทำเริ่มรับราชการ ก.ย. 2530 ทำไปทำมาล่อออกแบบสนามบิน 10 กว่าสนามหายอยากเลย( *0* ) การทำงานก็ทำเองทั้งหมด ทั้งออกแบบ ทั้งดราฟ ชอบใช้ปากกานะ มันไม่เลอะ หัวหลายๆขนาด ผิดก็เอาคัตเตอร์ขูดๆเอา ปัจจุบันมี AUTO CAD แต่ยังใช้ไม่เป็นเลย SKETCHUP ก็พอเป็นบ้าง ดีนะเดียวนี้มีโปรแกรมช่วย แต่เราเป็นสถาปนิก อย่าทิ้งลายมือลานเส้นเด็ดขาด นี้ปัจจุบันก็ยังขีดๆ เขียนๆ เล่นๆ เป็นประจำ เข้าประชุมเครียดๆ มีดินสอ 2B สักแท่ง มียางลบที่ปลาย ก็อยู่ได้แระ ( น้าแอ๊ดหยิบกระดาษที่มีรูปการ์ตูนที่เขียนเล่นมาให้ดู) "
           ปัจจุบัน น้าแอ๊ดเป็นผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสนามบิน

ผลงานการออกแบบ
           "ก็มีบ้านพักบ้าง อาคารสำนักงาน โรงแรมที่กำแพงเพชร พอมารับราชการก็มี สนามบินที่ ชุมพร นครศรีธรรมราช สกลนคร นครพนม หัวหิน แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก สุราชธานี เพชรบูรณ์ ส่วนต่อเติมที่แพร่ เชียงรายบางส่วน  (*0* เยอะมากกก)

                  รูปสนามบินแม่ฮ่องสอน ออกแบบโดยนำเอาความเป็นไทยใหญ่มาผสมผสานทั้งภายในและภายนอก ค่อนข้างภูมิใจกับผลงานเพราะชาวบ้านชอบ




อุปสรรคในการประกอบวิชาชีพ ??
         "ในการทำงานส่วนใหญ่ต้องหาความรู้ด้วยตัวเอง ศึกษาค้นคว้าเอง ความร่วมมือจากคนรอบข้าง รวมถึงมีปัญหาบ้างกับเพื่อนร่วมงานแต่ก็เป็นเรื่องปกติของการทำงาน จึงควรกำหนดให้แน่ชัดว่าใคร main ในการออกแบบ"

ข้อคิดที่สำคัญในการทำงาน และแนวทางการทำงาน ??
         "พยายามศึกษาสิ่งแวดล้อมให้ดีๆ พยายามอย่าทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน ส่วนแนวทางการทำงาน ก็ควรฟังความคิดเห็นคนอื่นก่อน สังเกตทัศนคติ เข้าใจเขาใจเรา จะทำให้การทำงานราบรื่น"

คิดเห็นอย่างไรกับ จรรยาบรรณวิชาชีพ ??
          "จากที่สัมผัสมา อย่าพยายามเอาผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิชาชีพการทำงาน เช่น การสเปคแบบ การเลือกวัสดุ อุปกรณ์ประกอบอาคาร ของพวกนี้มีมูลค่าสูง เช่นระบบแอร์ ควรเลือกตามความเหมาะสม"


แนวโน้มของสถาปนิกรุ่นหลังควรจะเป็นไปในทิศทางใด ??
          "ควรคิดถึงสิ่งแวดล้อม ยิ่งบ้านเราเป็นประเทศเมืองร้อน มีหน้าร้อน หน้าฝน ฝนตกชุก ควรคิดถึงให้มากๆ เพราะปัจจุบันการโปรเทคธรรมชาติลดลงไปมาก รูปแบบสวยแต่ใช้การไม่ได้ ในความเป็นลาดกระบังจึงควรคำนึงถึงคุณค่าการใช้งานให้เยอะๆ"


พูดถึงรุ่นน้องที่จบใหม่ที่จะออกไปทำงาน ??
          "จริงแล้วควรมีสัก 3 แห่งก็พอที่เปิดคณะสถาปัตยกรรม เพราะประเทศเราไม่ได้เปิดกว้างการออกไปถึงขั้นนั้น สถาปนิกจบมาก็ล้นไม่ได้ทำงานตามสายงาน ไปเป็นดารา ไปเป็นเซลขายของ พูดถึงคณะสถาปัตย์ที่อื่นรู้สึกจะที่มหาสารคาม ของเค้าการออกแบบก็ใช้ได้ ฟังชั่นถูก และใช้งานได้จริงเข้ากับสภาพแวดล้อม เพราะงานออกแบบเค้านำออกเอกลักษณ์ เฉพาะถิ่นที่เขาสัมผัสอยู่ทุกๆวันมาใช้ในการออกแบบได้ลงตัว  อยากให้ดูเคาเจอร์ของคนไทย ที่มาของถาปัตย์ไทย ความเป็นมาของไทย ล้วนแล้วเกิดจากการใช้งานจริงๆทั้งสิ้นๆ"


ขอขอบคุณ คุณธนชัย ศิริสัมพันธ์ (น้าแอ๊ด) ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ ที่เสียสละเวลามาให้สัมภาษณ์ด้วยความเป็นกันเอง สนุกมากครับได้ทั้งความรู้ และข้อคิดหลายๆอย่างในการทำงานและการใช้ชีวิต 


 

สัมภาษณ์วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553
สถานที่ สำนักงานมาตรฐานสามบิน Airport Standards Bureau
ผู้ให้สัมภาษณ์ : คุณธนชัย ศิริสัมพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสนามบิน
สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย : นายนิติ ทองสง รหัส 49020152
ผู้ให้ Assignment : ผศ.ไกรทอง โชติวุฒิพัฒนา 



วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

บันไดและบันไดหนีไฟ


บันไดและบันไดหนีไฟ
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคารพ.ศ. ๒๕๔๔


no. 38 Residential building should have at least 1 stair which its width is not less than 90 cm. One flight should not higher than 3 m. The riser should not higher than 20 cm. The tread’s width, excluding the overlapping nose, should not be less than 22 cm. Also the area before the stair should have its width and length not less than the stair’s width.

A stair, higher than 3 m., should have a landing every 3 m. or less. Then its landing should have its width and length not less than the stair’s width. Its headroom should be higher than 1.9 m.

no. 39 Following types of buildings; Theatres, convention halls, factories, hotels, hospitals, libraries, department stores, markets, service places which defined by the Building code of Service Places, Airports, transportation hubs which was built or renovate higher than 1 storey. Not only they should have ordinary stairs, but also at least one specific fire exit stair which have no obstructions on the path to the exit.

A public building that has its basement. Not only it should have ordinary stairs, but also at least one specific fire exit stair.

no. 40 A building that has its basements, 2 storey or more. Not only it should have ordinary stairs, but also at least one specific fire exit stair.

no. 41 A fire exit stair must made of permanent fire resistant materials. Its width should not less than 90 cm. and not more than 150 cm. The riser should not higher than 20 cm. The tread’s width should not be less than 22 cm. Its landing shoud have its width and length not less than the stair’s width. The handrail’s height is 90 cm. Spiral stair type is prohibited.

An area before the fire exit stair should have its width not less than the stair’s width. The other side’s width should not less than 1.50 m.

In case of using a fire exit slope; its slope should not less than 12%

no. 42 A fire exit in any buildings, excluding high rise buildings, should have its width not less than 90 cm. Surrounded by rigid walls made of permanent fire resistant materials, except the ventilation duct and fire exit door areas. Each floor should have ventilated duct, which open out of the building, and their total areas should not less than 1.40 sq.m. Provided sufficient lighting in day/night time.

A fire exit stair in the Special big building (according to the first paragraph of the Building Code) should have a pressurize shaft which have pressure rate not less than 38.6 Pa.m. and work automatically when the incident happens. The fire exit on the first floor should located in the area that can easily goes out of the building.

no. 43 Any rowhouses with not more than 4 storeys, or not higher than 15 m. from road level, the fire exit stair can be in a vertical line but it must have landings on every floors. Each landing width should be not less than 60 cm. The space between each steps should not more than 40 cm.


กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522


no. 27 A building with 4 or more storeys and not higher than 23 m. and a 3-storey building with a roof deck (area more than 16 sq.m.). Not only they should have ordinary stairs, but also at least one specific fire exit stair which made of fire resistant materials. The path to the exit must have no obstructions.

no. 28 A fire exit stair’s slope is wider than 60 degrees. Except a rowhouse that is not higher than 4 storeys can have a fire exit stair with slope narrower than 60 degrees, but it must have landings on every floors.

no.29 A fire exit stair located inside the building should have its width not less than 60 cm. Each walls that goes along with the fire exit stair must be made of permanent fire resistant materials.

If fire exit stair (according to paragraph 1) does not reach ground floor, there should be an extended metal stair.

no. 30 A fire exit stair located inside the building should have its width not less than 80 cm. Surrounded by rigid walls made of permanent fire resistant materials, except the ventilation duct and fire exit door areas. Each floor should have ventilated duct, which open out of the building, and their total areas should not less than 1.40 sq.m. Provided sufficient lighting in day/night time.

no.31 Fire exit stair’s width must be not less than 80 cm, its height is not lower than 1.90 m. and its door must swing to outside. The door must automatically shut and can open any time. Also there should be no obstruction before the door or the exit.

no.32 An area before the fire exit stair should have its width not less than the stair’s width. The other side’s width should not less than 1.50 m.

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

Green Architecture

 Green Architecture



แนวความคิดสถาปัตยกรรมสีเขียว Green Architecture Concept)
สถาปัตยกรรมสีเขียวเป็นผลผลิตจากระแสความคิดใหม่ในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีรากฐานมาจากสถาปัตยกรรมยั่งยืน Sustainable Architecture) ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาไม่เกิน 20 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่แนวทางการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานด้วยวิธี Passive Design) ในยุโรปและอเมริกาที่ไม่ประสบความสำเร็จ กระแสความคิดของสถาปัตยกรรมสีเขียวเกิดขึ้นได้ มิใช่เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปรากฏการณ์เรือนกระจก Green House Effect) ปรากฏการณ์หลุมโอโซน Ozone House) เกาะความร้อน Urban Heat Island) ฝนกรด Acid Rain) การทำลายป่า Deforestation) รวมทั้งการแพร่กระจายของโรคติดต่ออันเกิดจากสภาพอากาศของโลกที่เปลี่ยนไป Climate Change) แต่เกิดจากผลกิจกรรมของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศโลก จากการบริโภคพลังงานจากแหล่งพลังงานดั้งเดิมเช่น ถ่านหิน หรือนํ้ามันดิบ และก๊าซนี้จะทำให้ความร้อนจากผิวโลกไม่สามารถแผ่รังสีกลับสู่อวกาศได้ทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อน Global Warming) ปัญหาโลกร้อนจะทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกสารพัดโดยเฉพาะภาคการเกษตร ในประเทศเกษตรกรรรมอย่างประเทศไทยจะได้รับผลกระทบรุนแรงมาก จะเห็นว่าปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาที่กว้างขวางและซับซ้อนเกินกว่าวิชาความรู้แขนงใดแขนงหนึ่งจะเข้าแก้ไขได้ ดังนั้นการสร้างสถาปัตยกรรมสีเขียว จึงต้องอาศัยการบูรณาการของวิชาความรู้ทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ Building Science) การวางผังเมือง การบริหารการก่อสร้าง โดยกรอบความคิดของสถาปัตยกรรมสีเขียวก็คือประโยคง่ายๆที่ทุกคนมักจะพูด “Human beings should live in harmony with nature”

ลักษณะเบื้องต้นของ Green Buildings
 ถ้ามองหลักการของ Passive Design) ในสมัยทศวรรษที่ 70 ที่เทคโนโลยีอาคารยังไม่เจริญนัก ที่เราจะนำมาใช้เป็นแม่แบบของอาคารสีเขียว จะพบว่าการออกแบบให้ตอบรับกับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดสภาวะน่าสบายแต่ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการออกแบบอาคารสีเขียว เพียงแต่เป้าหมายมิใช่เพียงแค่การลดการใช้พลังงานอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว เป้าหมายของอาคารสีเขียวที่เพิ่มมาก็คือการผสมผสานองค์ความรู้จาก Passive Design) เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ของศตวรรษที่ 20 ในการที่จะใช้ประโยชน์จากพลังงานธรรมชาติที่สะอาด และไม่มีวันหมดโดยตรง ในอีกความหมายหนึ่งก็คือแนวคิดอาคารสีเขียวจะไม่พยายามเสนอแนะการลดการใช้พลังงาน หากพลังงานนั้นมีความจำเป็นต่อการผลิตหรือการอยู่อาศัยของมนุษย์ แต่จะเสนอแนะให้อาคารใช้พลังงานจากแหล่งที่สะอาด และไม่มีวันหมดไป Renewable Energy) ซึ่งในเบื้องต้นอาคารสีเขียวจึงจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนดังต่อไปนี้
สอดคล้องกับสภาพอากาศ หมายถึง การออกแบบจัดวางพื้นที่ใช้สอยอาคารตามทิศทางแดดทิศทางลมธรรมชาติ และการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างตกแต่งที่ทำให้ อาคารเกิดความน่าสบาย ไม่ร้อน ไม่หนาว ไม่ชื้น ไม่แห้งเกินไป ก่อนที่จะเริ่มอาศัยเครื่องจักรกลที่บริโภคพลังงานซึ่งหมายถึงการออกแบบ Passive Design) นั้นเอง

       ความน่าสบาย มีหลายครั้งที่ความพยายามประหยัดพลังงานอย่างงกไม่อาศัยสติปัญญา คือการงดใช้พลังงานที่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งพบได้ทั่วไปในหน่วยงานราชการของรัฐ ก่อผลเสียตามมาที่ทำให้อาคารไม่น่าสบาย ร้อนเกินไป หนาวเกินไป แสงสว่างไม่เพียงพอ เสียงดัง รบกวน หรือคุณภาพอากาศภายในไม่สะอาดไม่บริสุทธิ์ นอกจากจะก่อให้เกิดผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร ประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษา แล้วยังมีผลเสียทางเศรษฐกิจจากการทำงานของบุคลากรประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักศึกษา แล้วยังมีผลทางเศรษฐกิจจากการที่อาคารและอุปกรณ์อาคารมิได้ถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ตามที่ได้ลงทุนก่อสร้างสูญเสียทรัพยากรไปตั้งแต่ต้น ด้วยเหตุนี้ องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมสีเขียวจึงต้องกำหนดให้อาคารมีการักษาสภาวะน่าอยู่สบายของมนุษย์ให้อยู่เกณฑ์มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นสากลในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้



สภาวะน่าอยู่สบายเชิงอนุภาค Thermal Comfort
แสงสว่าง Visual/Lighting Comfort
เสียง Acoustical Comfort
คุณภาพอากาศภายใน Indoor Air Quality: IAQ
การใช้พลังงานจากธรรมชาติ นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ทำให้อาคารบ้านเรือนเลือกใช้พลังงานจากแหล่งนํ้ามันดิบที่ทำลายสภาพแวดล้อมดังกล่าวแล้ว สถาปัตยกรรมสีเขียวจึงมุ่งส่งเสริมให้เกิดการนำพลังงานจากธรรมชาติจากแหล่งอื่นๆ มาแทนที่พลังงานสกปรก ซึ่งตามความจริงแล้ว พลังงานจากดวงอาทิตย์จำนวนมหาศาลได้เข้ามาสะสมบนโลก และรอให้ถูกนำมาใช้เพียงแต่การนำมาใช้อาจจะต้องอาศัยองค์ความรู้มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้แหล่งพลังงานที่อาคารสามารถนำมาใช้มักจะเป็นพลังงานที่หาได้ทดแทนได้ Renewable Energy) ซึ่งจะได้แก่


 พลังงานจากแสงอาทิตย์ ด้วยการใช้รังสีจากดวงอาทิตย์เพื่อให้ความร้อนและผลิตกระแสไฟฟ้า
พลังงานจากนํ้า จากการผลิตกระแสไฟฟ้าและการใช้เป็นแหล่งความร้อนความเย็น
พลังงานจากดิน จากการสะสมความร้อนในดิน
พลังงานลม จากการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยตรงและการเพิ่มสภาวะน่าสบาย ด้วย Ventilation
พลังงานจากพืชพันธุ์ จากการกันแดดและการระเหยของนํ้าเพื่อสร้างความเย็น
พลังงานจากสัตว์ มูลสัตว์ จากการสร้างพลังงานชีวมวล Biomass


หลักการออกแบบ Green Buildings

หลักการออกแบบอาคารสีเขียวประกอบด้วยปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้งสามส่วนได้แก่ ตัวอาคาร สภาพแวดล้อม และการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้ามาเชื่อมโยงให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างอาคารและสภาพแวดล้อม ซึ่งการใช้เทคโนโลยีต่างๆก็จะถูกผสมผสานเข้าไปในทุกส่วนของอาคาร ตั้งแต่การเริ่มต้นสร้างแนวคิดในการออกแบบอาคารไปจนถึงการก่อสร้าง การใช้งาน และการวางแผนปรับปรุงและย่อยสลายส่วนประกอบอาคาร หลักการออกแบบอาคารสีเขียวทั่วไปมีดังนี้
ตัวอาคาร Building Fabric


ฉนวนกันความร้อนโปร่งใส Transparent Insulating Material: TIM
การใช้แผงโซล่าร์ Bldg. Integrated Photovoltaic & Solar Collector
การกักเก็บความร้อนความเย็น Thermal Storage
แสงสว่างธรรมชาติ Daylight
การใช้วัสดุประสิทธิภาพสูง LowE Materials
การประยุกต์ใช้ร่มเงาจากต้นไม้ Planted Surfaces
การทำความเย็นวิธีธรรมชาติในเวลากลางคืน Night Cooling Infrared Irradiation) 
สภาพแวดล้อม Exterior Space
การจัดรูปทรงและทิศทางอาคาร Building Forms & Sun Shading
การระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติ Natural Ventilation
การสร้างร่มเงาให้อาคาร Solar Energy & Sun Shading
การใช้ทรัพยากรแหล่งนํ้าใต้ดิน Groundwater & Aquifer
การทำความเย็นความร้อนใต้ดิน geothermal Cooling Heating
การใช้แหล่งนํ้าบนดิน Water Surfaces

 
  
เทคโนโลยีอาคาร Building Technology
การใช้เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า Photovoltaic : PV
กังหันลมผลิตไฟฟ้า wind Generator
การขุดเจาะใต้ดินเพื่อทำความเย็น Bore Holes
การสร้างคลังนํ้าแข็ง Ice Storage
การใช้เครื่องทำความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ Active Solar Collector
การใช้พลังงานจากดิน Geothermal
การใช้พลังงานชีวมวล Biomass

  



ขณะนี้แนวคิดการออกแบบ "บ้านดิน" ได้รับความนิยมมากในประเทศไทย เพราะราคาถูก สร้างง่าย และให้บรรยากาศดีๆ ใกล้ชิดธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งรีสอร์ทในแถบราชบุรีต่างๆ ก็นำไปปรับใช้กันมากมาย 






แนวทางการประเมิน Green Buildings

การที่จะนำคำว่า Green Buildings ไปเป็นพื้นที่พิเศษเมืองพัทยา เพื่อสนับสนุนภาครัฐและเอกชนในการแสวงหาผลประโยชน์ทางการตลาดในโครงการอสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่สมัครเข้ารับการช่วยเหลือจากภาครัฐหรือองค์กรนานาชาติด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้มีการโฆษณาชวนเชื่อว่าโครงการที่กำลังออกแบบก่อสร้างโครงการนั้นๆเป็นอาคารสีเขียว การที่จะพิสูจน์ยืนยันว่าโครงการต่างๆนั้นได้รับการออกแบบเป็น Green Buildings อย่างถูกวิธี จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดเป็นมาตรฐานขึ้นมา ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีกาให้คะแนนตามรายการ Checklist) หรือเรียกว่าแบบประเมินอาคาร ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกได้
พัฒนาแบบประเมินอาคารที่เรียกว่า ELLED หรือ Leadership in Energy & Environmental Design โดยอาคารผ่านเกณฑ์แต่ละข้อก็จะได้คะแนนสะสมจนได้คะแนนรวมเพื่อเสมือนที่จะให้ ดาวแก่อาคาร เป็นดาวเงิน ดาวทอง หรือดาว Platinum ซึ่งเมื่อคณะที่ปรึกษาฯ ได้ศึกษาในเบื้องต้นแล้ว ได้เลือกกรณีของ LEED มาเป็นแนวทางการศึกษา ในการวางแนวทางการออกแบบและประเมินอาคารสีเขียว ซึ่งจะพิจารณาเสนอให้ออกแบบเป็นเทศบัญญัติท้องถิ่นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการควบคุมอาคารและการปรับเปลี่ยนไปสู่สถาปัตยกรรมสีเขียวที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาต่อไป ทั้งนี้ในขั้นต้น ได้แยกเกณฑ์การให้คะแนนเป็นข้อๆ ดังนี้
Sustainable Site 14 คะแนน) ในหัวข้อนี้จะเน้นที่การเลือกสถานที่โครงการที่ไม่รุกลํ้าพื้นที่ที่เป็นแหล่งธรรมชาติเดิม ซึ่งหากใช้สถานที่เดิมที่เคยทำการก่อสร้างแล้ว ก็จะได้คะแนนในหัวข้อนี้มาก นอกจากนี้การให้คะแนนในหัวข้อนี้ก็จะเกี่ยวข้องกับการพยายามรักษาหน้าดินเดิม การป้องกันการกัดกร่อนของหน้าดิน การจัดการระบบระบายนํ้าฝน การลดมลภาวะทางด้านแสงสว่างที่รบกวนสภาพแวดล้อมข้างเคียงในเวลากลางคืน การเลือกสถานที่ตั้งการคมนาคมขนส่งมวลชนให้สามารถเข้าถึงได้ เพื่อประหยัดพลังงานจากการใช้นํ้ามันหรือรถยนต์ส่วนตัว การมีพื้นที่สีเขียวเพื่อลดภาวะเกาะร้อน Heat Island• Erosion & Sedimentation Control Required
• Site Selection
• Development Density
• Brownfield Redevelopment
• Alternative Transportation
• Reduced Site Disturbance
• Storm water Management
• Heat Island Effect
• Light Pollution Reduction


Water Efficiency 5 คะแนนในหัวข้อนี้จะเน้นที่การใช้ทรัพยากรนํ้าอย่างมีประสิทธิภาพ การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมที่ไม่สิ้นเปลืองนํ้าเพื่อการบำรุงรักษาต้นไม้ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการบำบัดนํ้าเสียจากโครงการ


• Water Efficient Landscaping
• Innovative Wastewater Technology
• Water Use Reduction

Energy and Atmosphere 17 คะแนน) ในหัวข้อนี้จะเน้นการใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้พลังงานทดแทนอย่างเหมาะสม ทางด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ข้าวของอาคารจะต้องมีแผนการจัดการพลังงาน และแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์งานระบบอาคารอย่างเหมาะสมและสมํ่าเสมอ รวมทั้งการตรวจวัดการใช้พลังงานของอาคาร Measurement &Verification) นอกจากการออกแบบอาคารให้มีประสิทธิภาพตั้งแต่ต้น การจัดการอาคารภายหลังอาคารได้รับการเปิดใช้งานแล้ว ก็จัดเป็นเรื่องสำคัญมากด้วย ทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับการรักษาบรรยากาศโลก หัวข้อนี้ยังจัดให้คะแนนแก่การออกแบบที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ที่พบว่าทำให้เกิดรูโหว่ของโอโซนชั้นบรรยากาศโลกอีกด้วย
• Fundamental Building Systems CommissioningRequired
• Minimum Energy Performance Required
• CFC Reduction in HVAC& R Equipment Required
• Optimized Entergy Performance
• Renewable Energy Additional Commissioning
• Ozone Depletion
• Measurement & Verification
• Green Power

Materials and Resources 13 คะแนน) ในหัวข้อนี้จะเน้นการใช้วัสดุก่อสร้างอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นวัสดุที่มาจากแหล่งที่ต้องทำลายสิ่งแวดล้อม โดยหลักการทั่วไป ได้แก่ วัสดุรีไซเคิล หรือวัสดุก่อสร้างท้องถิ่นที่ได้มาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าพลังงานในการขนส่งมาจากแหล่งอื่น รวมทั้งการวางแผนจัดการขยะจากการก่อสร้างอาคารด้วย
• Storage & Collection of Recyclables Required


• Building Reuse
• Construction Waste Managemen
• Resource Reuse
• Recycled Content
• Local / Regional Materials
• Rapidly renewable Materials
• Certified Wood

5. Indoor Environment Quality 15 คะแนน) ในหัวข้อนี้จะเน้นที่การออกแบบก่อสร้างและบริหารจัดการให้อาคารมีสภาวะแวดล้อมที่น่าสบาย ปลอดสารพิษ โดยวิธีการใช้วัสดุก่อสร้างและตกแต่งอาคารที่เหมาะสม การจัดให้มีการระบายอากาศที่เพียงพอ การได้รับแสงสว่างจากธรรมชาติ รวมถึงการจัดการบริหารอาคารและการทำความสะอาดอย่างเหมาะสมและสมํ่าเสมอโดยมีหัวข้อที่ให้คะแนนดังนี้
• Minimum IAQ Performance Required
การควบคุมควันบุหรี่ Environmental Tobacco Smoke Control) (Required
การตรวจจับปริมาณความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์Carbon DioxideCo2Monitoring
ประสิทธิผลของการระบายอากาศ Ventilation Effectiveness
แผนการก่อสร้างที่มีการจัดการคุณภาพอากาศภายใน Construction IAQ Management Plan
การใช้วัสดุอาคารที่มีการปล่อยสารเคมีหรือสารพิษต่างๆ LowEmitting Materials
การควบคุมสารเคมีและสารมลพิษภายใน Indoor Chemical & pollutant Source Control
การควบคุมระบบอาคาร Controllability
สภาวะน่าสบายเชิงอุณหภาพ Thermal Comfort
การให้แสงสว่างธรรมชาติและทิวทัศน์ Daylight&Views

6.Innovation and Design Process 5 คะแนน) ในหัวข้อนี้จะเน้นที่การออกแบบส่วนประกอบอื่นๆ ที่ผู้ออกแบบอาคารสร้างสรรค์ขึ้นมาให้เป็นนวัตกรรมที่ช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปมักจะได้แก่องค์ประกอบการออกแบบพิเศษที่มีลักษณะนอกเหนือไปจากกฎเกณฑ์ทั่วไปที่กำหนดไว้ในข้อ 5 ทั้งนี้แบบประเมิน LEED อีกด้วย
ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรอง LEED Accredited Professional
นวัตกรรมในการออกแบบ Innovation in Design

คะแนนเต็มมีทั้งสิ้น 69 คะแนน ซึ่งเมื่อรวมคะแนนทั้งหมดแล้ว หากได้คะแนนรวม 32 คะแนน จะได้ระดับ “Certified” ถ้าได้คะแนน 38 คะแนน จะได้ระดับ “Silver” ถ้าได้คะแนน 51 จะได้รับ “Gold” และถ้าได้คะแนน 69 จะได้รับระดับ “Platinum” ผลที่ได้นี้จะเป็นแรงจูงใจให้มีการคิดค้นออกแบบ และก่อสร้าง Green Buildings กันมากขึ้น
บทสรุป
สำหรับแนวทางการนำเอาแนวคิดสถาปัตยกรรมสีเขียว มาปรับใช้กับพื้นที่พิเศษดังกล่าว
จำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่การศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อม สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ ว่าจะมีผลอย่างไรต่อการกำหนดแนวทางการออกแบบให้สอดคล้องกัน โดยศึกษาตัวอย่างจากการออกแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น Vernacular Architecture) ที่มีอยู่เดิมอย่างพินิจพิจารณาว่า ในอดีตมีวิธีการแก้ไขปัญหาให้อาคารอยู่สบายได้อย่างไรในสภาพอากาศต่างๆ ซึ่งองค์ความรู้ คู่มือมักไม่ปรากฏเป็นตำราคู่มือการออกแบบที่ชัดเจน ฉะนั้นจึงต้องศึกษาความรู้เทคโนโลยีด้านอื่นๆ เพิ่มเติมให้เป็นลักษณะ Holistic approach เพราะทุกอย่างจะเข้ามาเชื่อมโยงกันในที่สุดแต่อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีสมัยใหม่มิใช้สิ่งสำคัญที่สุดในการได้มาซึ่งสถาปัตยกรรมสีเขียว แต่แท้จริงแล้วคือการผสมผสานแนวคิดอนุรักษ์เข้ากับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งคณะที่ปรึกษาฯจะได้นำเสนอเป็นแนวทางในรายละเอียดในขั้นต่อไป
อีกประการหนึ่งก็คือ ในพื้นที่พิเศษเมืองพัทยา มิใช่เมืองเพิ่งเกิด มีอาคารบ้านเรือนที่อยู่ในสภาพเดิมมากมายที่จำเป็นจะต้องวางแนวทางการสำรวจประเมินสภาพ และวางแนวทางการ
ปรับปรุงและปรับเปลี่ยนไปสู่แนวทางและลำดับการพัฒนาไปสู่เมืองสีเขียวอย่างเป็นขั้นตอนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่ต้นทา อย่างน้อยที่สุด ควรมีการวางมาตรการ การใช้แนวคิด Recycle มาใช้ร่วมกับการปรับปรุงอาคารเดิมให้เป็นสถาปัตยกรรมสีเขียว ไม่ว่าจะเป็น การ Recycle วัสดุ ขยะ นํ้าใช้ นํ้าเสีย ในทุกระดับการใช้งาน จากระดับบ้าน สู่ชุมชน สู่เมือง โดยรัฐควรมีมาตรการ Incentive ต่างๆสนับสนุน ทั้งนี้จะเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวในเขตพิเศษเมืองพัทยาอย่างยั่งยืน

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ท่องโลกสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่นไปกับทริปจารย์จิ๊ว




สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


   วันที่ 1 ของการเรียนวิชา "สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น" สิ่งแรกที่ผมคิดคือ หามุมสักมุมนึงเพื่อที่จะก้มฟุบหลับไปกับโต๊ะ หลบหลังเพื่อน ให้รอดพ้นจากสายตาของอาจารย์จิ๋วหวังที่จะหลับสักงีบ เพราะนี้เป็นวิชาที่สามแล้วสำหรับวันนี้ ความรู้สึกอยากเอนตัวในสภาพ 180 องศา มันอัดแน่นอยู่ในใจ แต่นี้มันห้องเรียนเลยทำได้แค่ท่า 90 องศาเท่านั้น ผมไม่ค่อยสนใจกับสิ่งที่จารย์จิ๋วพยายามสอน ฟังผ่านๆมองด้วยหางตาก็เหมือนทุกครั้งไป คือ เปิดภาพฉายสไลท์ ปิดไฟมืดๆ ชวนหลับเป็นอย่างยิ่ง.....แต่อาจด้วยท่าทางที่ไม่ได้ดั่งหวัง หัววงบนแขนขวาทับแขนซ้าย แขนซ้ายชา แขนซ้ายทับแขนขวาบ้าง แขนขวาชา จนไม่หลับสักที ได้แต่เอียงไปเอียงมา พร้อมกับฟังสิ่งที่อาจารย์จิ๋วพูด 
   
   "การฟื้นพฤติกรรมเดิม โดยการนำภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่นนำมาใช้ให้เต็มที่ โดยวิธีการเพิ่มศักยภาพด้วยความรู้สมัยใหม่ที่มีการกลั่นกลอง ไม่ทำลายวิถีดั้งเดิม"

   ประโยคนี้เองที่สะกิดใจ ชวนนึกภาพจินตนาการต่างๆนาๆแลดูฟุ้งซ่าน จึงได้แต่เงยหน้าขึ้นมองภาพสไลท์แล้วได้ประจักตากับบ้านไม้ซอมซ่อตามชนบท....... ยิ่งงงหนักขึ้นไปอีก อะไร ยังไง ทำไม ใช่รึปล่าว...... แต่พอได้ฟังอาจารย์จิ๋วอธิบายถึงเหตุผลของความงาม ที่มาจากการเลือกใช้วัสดุง่ายๆในท้องถิ่น ผสมกับการนำภูมิปัญญามาประยุกต์ในเหมาะกับประโยชน์ใช้สอยที่สามารถใช้งานได้จริง เมื่อทุกอย่างลงตัวสอดคล้องกันระหว่างตัวสถาปัตยกรรมเองและสิ่งแวดล้อม ก็จะเกิดความงามที่ลงตัวจับต้องได้ อยู่ได้กันอย่างไม่เขลอะเขิล
   จนเมื่อมีโอกาศได้ไปทัศนศึกษาออกทริปไปชมสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ซึ่งคราวนี้จะเป็นของจริงที่สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 รูป กลิ่น เสียง สัมผัส รส (อันนี้ต้องเอาลิ้นเลีย  ขอแค่ 4 ข้อก็พอ) ซึ่งสถานที่ที่จะไปนั้นอันได้แก่ สถาบันอาศรมศิลป์ บ้านอาจารย์ทรงชัย และทริปยาว 8 คืน 9 วัน ขึ้นเหนือ
  
ทริปอาศรมศิลป์

   สัมผัสแรกที่รู้สึกได้เมื่อเข้าไป คือ ความเย็น เย็นด้วยร่มไม้ เย็นด้วยความสงบ เย็นด้วยสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรมทั้งโรงเรียนรุ่งอรุณจนไปถึงสถาบันอาศรมศิลป์ ที่อยู่ด้วยกันกับสวนไม้ได้อย่างลงตัว ด้วยวัสดุที่ทำจากไม้ หลังคาหญ้าแฝก เป็นต้น การเดินเที่ยวชมครั้งนี้ก็คล้ายๆกับการนั่งเรียนในห้องเรียน เพราะมีจารย์จิ๋วคอยอธิบายความชัดเจนของ space ให้แจ่มแจ้ง ทั้งการเล่นระดับแทนการใช้เฟอร์นิเจอร์เพื่อการใช้งานที่หลากหลาย การจัดสวนไม่ให้เป็นเรขาคณิตเพื่อให้บรรยากาศเป็นป่าให้ต้นไม้สอดคล้อยไปอย่างอิสระตามธรรมชาติ นำของดีที่มีอยู่อย่างศิลปท้องถิ่นนำมาร้อยเีรียงผ่านการกลั่นกลองให้เหมาะสมกับวัสดุสมัยใหม่ เกิดเป็นภาษาท้องถิ่นบวกกับภาษาโมเดิลที่อยู่ร่วมกันได้
บริเวณโรงเรียนรุ่งอรุณ
ลานอเนกประสงค์ที่เลือกเล่นระดับแทนการใช้เฟอร์นิเจอร์

บรรยากาศตรงทางเชื่อม
อาคารสถาปันอาศรมศิลป์

ทริปบ้านอาจารย์ทรงชัย

   จ.สระบุรีคือจุดมุ่งหมายของวันนี้ นั้นคือ "บ้านเขาแก้ว" บ้านของอาจารย์ทรงชัย ซึ่งมีลักษณะเป็นเรือนไม้เก่าแก่สร้างจากวัสดุไม้เก่าหลายๆชิ้นส่วนมาผสมได้อย่างลงตัว ประกอบด้วยเรือน 6 เรือนวางล้อมสระน้ำเพื่อต้องการมุม แพทเทิลการวางอาคารไม่เป็นไปตามประเพณีแต่จัดวางโดยฟังค์ชั่นการใช้งาน ลานดินกวาดเรียบสามารถมองเห็นสิ่งแปลกปลอมรวมถึงสัตว์เลื่อยคลาน มีองค์ประกอบเป็นไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ ค่อยให้ร่มเงาแก่ตัวอาคาร บวกกับความโปร่งของช่องเปิดฝาไม้เกิดการถ่ายหมุนเวียนอากาศ เปรียบดั่ง "ผนังหายใจได้" ต่างกับประเพณีสมัยก่อนที่ไม่ต้องการให้ต้นไม้พาดผ่านบ้านเพราะกลัวสิงสาราสัตว์ซึ่งเดี่ยวนี้ไม่จำเป็น การเลือกใช้วัสดุและหยิบยกนำมาประกอบของอาจารย์ทรงชัยแสดงถึงภูมิปัญญา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเพณีดั้งเดิมของคนไทยที่ควรค่าแก่การศึกษาและอนุรักษ์
ลานหน้าบ้านอาจารย์ทรงชัย
บรรยากาศเรือนภายในที่ร่มรื่นด้วยเมกไม้ร่มเย็นด้วยสระน้ำ
ผนังที่มีช่องเปิดระบายลมรับวิวธรรมชาติ
บรรยากาศเรือนที่ล้อมรอบสระน้ำ

   ฝั่งตรงข้ามเป็น "หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน"  ตัวเรือนจะอยู่ริมตลิ่ง ยกใต้ถุนสูงเล่นลานดิน มีการปรับพื้นเพิ่มแคร่เพื่อเพิ่ม space เป็นตัวอย่างการสอดอาคารใช้พื้นที่ตะหลิ่งได้อย่างลงตัว ถ้าพูดถึงอาคารที่แทรกธรรมชาติ ที่่่นี่ของจริง
ลาดอเนกประสงค์ที่ถูกปรับพื้นแล้วต่อเติมแคร่เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอย
ลวยลายเงาที่ทอดลงสู่ลานผสมผสานกับวัสดุอื่น
มุมมองตรงท่าน้ำด้านหลัง
 ตะลุยเหนือไปกับทริปอาจารย์จิ๋ว

   24/07/53

   ครั้งที่ 3 แล้วสินะ กับการออกทริปไปกับอาจารย์จิ๋ว แต่ครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งก่อนๆที่ไปเช้าเย็นกลับ เพราะนี้ถือเป็นการออกทริปยาว 8คืน 9วัน ตะลุยสู่ภาคเหนือ จุดสูงสุดของทริปนี้คือจ.ลำปาง ไม่สูงเกินกว่านั้น ซึ่งก็รู้แค่นี้จริงๆ ไม่มีใครรู้นอกอาจารย์จารย์จิ๋วคนเดียว ว่าแล้วก็จัดกระเป๋าเตรียมกล้องดิสจิตอลพร้อมลุย

   นั่งรถกินลมชมวิวมาไม่ทันไรก็ถึง จ.อุทัยธาณี ซึ่งมีข่าววงในเล็ดลอดมาว่าจุดมุ่งหมายของทริปวันนี้คือ "เรือนแพ" หลังจอดรถกินข้าวเที่ยวชมเมืองอุทัยธานีได้พักใหญ่ ก็ได้เวลาเดินทางไปเที่ยวชมเรือแพ
   เรือแพ เดิมทีเป็นชุมชนตลาดการค้าข้าว แต่ปัจจุบันเป็นชุมชนอาศัยเนื่องด้วยคนที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง คนอยู่เรือนแพก็คือคนขายแรงงาน ขายของเล็กๆน้อยๆ อยู่กันกะทัดรัดทำให้ scale ของเรือนแพออกมาดูเล็กแต่ฟังค์ชั่นครบครัน ทั้งห้องนอน ห้องครัว ห้องน้ำ วัสดุที่ใช้ประกอบเรือนดูมีความหลากหลายดูมีวิวัฒนาการ แต่วัสดุหลักของเรือนเพคือไม้ไผ่ นำมาสร้างแพลอยน้ำที่มีโครงสร้างเฉพาะตัว ซึ่งปัจจุบันหาช่างชำนาญการต่อเรือนแพได้ยาก
เมืองอุทัยธานี
มื้อกลางวันกับก๋วยเตี๋ยวไก่รสเผ็ด
เรือนแพ
ปัจจุบันช่างที่สามารถสร้างเรือนแพได้เหลือแค่ไม่กี่คน
   

   จบจากเรือนแพก็ได้เวลาเดินทางต่อขึ้นสู่จ.ลำปาง เราจะไปค้างแรมที่นั้นกัน

25/07/53
  
    ตื่นเช้ามากับวันที่ 2 ของการเดินทาง งอแงเมาขี้ตานิดหน่อยเนื่องจากเมื่อคืนก่อนนอนเจอไปหลายเด้งเลยกินข้าวเช้า ไม่ทัน แต่เช็คกล้องเคลียร์ของพร้อมลุยต่อ
    
  "วัดไหล่หินหลวง" วัด ที่เก่าแก่ที่สุดในจ.ลำปาง คือที่แรกที่เราไป เข้าไปด้านในจะเป็นลานทรายนำสายตาไปสู่ตัววิหารวัด เห็นครั้งแรกตัววิหารจะดูเหมือนมีขนาดใหญ่โต แต่พอเข้าไปใกล้ กลับมี scale ที่เล็กลงผิดหูผิดตาเมื่อเทียบกับ scale คน ถือเป็นความชาญฉลาดของคนสมัยก่อนที่ต้องการเน้นตัววิหารซึ่งเป็นของสูงโดย การจัดวางรูปปั้น ให้สอดคล้องกับ scale วิหาร จนในมุมมองตรงทางเข้าแลดูเด่นยิ่งใหญ่ มีสง่า
วัดไหล่หินหลวง

   "วัดพระธาตุลำปางหลวง" ลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดคือการยกระดับ ปิดล้อม และขนาบด้วยวิหารสองข้าง เปิดลานอเนกประสงค์ ที่วัดนี้เริ่มเห็นการบูรณะปฏิสังขรวัดที่ชัดเจนขึ้น แต่กลับมีความขัดแย่งกันระหว่างวัสดุสมัยใหม่และเก่า อาคารใหม่ที่เข้ามาไม่กลมกลืน ลานทรายเรียบกว้างที่เคยเป็นสาระของการ open space กลับถูกปูด้วยอิฐตัวหนอน แล้วแบ่งเป็นขั้นๆบรรไดขึ้นไป ถึงแม้จะใช้การได้ แต่ก็สื่ออารมณ์ความเป็นวัดไม่เท่าของเก่า
มุมมองด้านหน้าพระธาตุแสดงถึงการยกระดับ
บริเวณลานภายใน

   "วัดปงยางคก" ตัววิหารมีลักษณะพิเศษคือ ความกลมกลืนของจังหวะเสาสู่ตัววิหาร  space ถูกกำหนดด้วยโครงสร้างหลังคา เกิดเป็น special form ที่ถูกกำหนดด้วยระนาบฝาคอสอง มีการวาดลวดลายมากไปน้อยไล่จากบนลงล่าง ฝาด้านล่างเป็ดเป็นกรอบเรขาคณิตเพื่อเป็นช่องแสง และใช้ landscape ภายนอกเป็นมุมมองจากภายในเสมือนมองผ่านกรอบรูป
การลดทอนสัดส่วนหลังคา
อ.จิ๋วกำลังอธิบายลักษณะลวดลายที่ไล่จากบนลงล่าง

   มองผ่านวัดมา 3 วัดก็เห็นถึงภูมิปัญญาและอุบายของคนสมัยก่อนที่มีความปราณีตในการทำ แต่ของเก่าก็ย่อมมีอันต้องทรุดโทรมพังลงได้ การบำรุงรักษาการสร้างอาคารใหม่ร่วมกับอาคารเดิมจึงควรคำนึงถึงวัสดุให้แลดู ล้อกัน scale เดียวกัน ลีลาท่วงท่าและจังหวะเดียวกัน คำนึงถึงระยะห่างระหว่างโบราณสถานเดิมไม่ให้เบียดแน่นเกิดไป คำนึงถึงสภาพแวดล้อมเดิม

   จบจากวัดขากลับระหว่างทางก็ได้แวะเยี่ยมชมบ้านไม้โบราณที่ลายละเอียดเต็มไป ด้วยจุด เส้น ระนาบ ซึ่งแฝงไปด้วยฟังชั่น ประโยชน์ใช้สอย ใช้งานจริง
ความสวยงามของระนาบบ้านไม้เก่า

26/07/53

   ตื่นเช้ามาเป็นอีกวันที่งัวเงียงอแงกับอากาศเหนื่อยล้า แต่ก็มีเวลาพอที่จะออกไปหาอะไรใส่ท้อง ทั้งข้าวมันไก่เนื้อปีก และข้าวเหนียวหมูทอดที่เตรียมไว้สำหรับมื้อกลางวัน

   ยังคงอยู่กันที่ลำปาง และสถานที่ต่อไปยังคงเป็นวัด "วัดสุชาดาราม" ซึ่งเป็นอีกวัดนึงที่มีตำนาน วิหารเก่าแก่ทรงล้านนา ใช้วัสดุทั้งปูนและไม้ ผสมผสานได้อย่างน่าสนใจ ทั้งในส่วนปูนปั้นรูปสิงห์ การแกะสลักหน้าบรรณ 
วิหารวัดสุชาดาราม


ออกจากวัดสุชาดาราม มุ่งสู่ "วัดข่วงกอม" ซึ่งเป็นวัดใหม่ที่ถูกออกแบบใหม่โดยสถาปนิกที่ยังคงไว้ซึ่งกลิ่นอายของวัด เก่า โดยยึดองค์ประกอบของวัดดั้งเดิม ใช้วัสดุล้อเลียนกับของเดิม ทั้งไม้และปูน เพียงแต่เพิ่มรายละเอียดเล็กน้อยให้ดูน่าสนใจ ทั้งพื้นหินกรวดรอบวิหาร การก่อกำแพงหินล้อมรอบให้ความรู้สึกหนักแน่น มั่นคง  รอบๆวัดมีหมู่บ้านเก่าแก่ที่ยังคงดำรงชีวิตแบบเรีบง่ายพึ่งพาธรรมชาติ ทั้งการเลือกใช้วัสดุ การขุดทำนบสายเล็กๆรอบนาข้าว ไหลตรงเข้าสู่หมู่บ้านเพื่อให้มีน้ำใช้ทั่วถึง ช่วงนี้ถือเป็นช่วงที่สนุกเพราะได้เดินตะลุยฝ่าน้ำ ฝ่าคันนา ออกสู่ท้องทุ่ง....เปรียบได้เหมือนตัวเองอยู่ท่ามกลางทะเลสีเขียว
วิหารวัดข่วงกอม
ศาลารอบวิหาร
มองท้องทุ่งผ่านธารน้ำ
ธารน้ำที่ไหนตรงเข้าหมู่บ้าน
ยุ่งข้าวหลังใหญ่เลยต้องมีเสาขัดด้านนอก


และมาจบด้วยการนอนแช่บ่อน้ำร้อนที่อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน....ปิดวันด้วยการผ่อนคลายสบายใจแฮ...


27/06/53

   เช้าสุดท้ายของทริปนี้ที่ลำปาง เป็นอีกวันที่ต้องเดินทางไปวัดต่อ คราวนี้ถึงคิวของ "วัดปงสนุก " เป็นวัดที่ได้รับรางวัล UNECO ด้านการอนุรักษ์ดีเด่น เดินผ่านซุ้มประตูมองขึ้นไปก็เห็นเจย์เด่นตระหง่าน มีบรรไดทางขึ้นที่ขนาบด้วยปูนปั้นพญานาคซึ่งเป็นลักษณะเด่นของบรรไดล้านนา คอยเชื่อเชิญให้เดินขึ้นไปสู่ด้านบน ซึ่งมีมณฑบรูปแบบล้านนาโครงสร้างไม้หลังคา 4 ชั้น ตั้งอยู่ข้างๆเจย์ ภายในมณฑบมีพระพุทธเจ้า 4 องค์หันหน้า 4 ทิศ หลังคามณฑบเองถือว่ามีโครงสร้างที่น่าสนใจ เพราะแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาเรื่องการใช้วัสดุให้เหมาะกับโครงสร้าง ยืนมองไล่สายตาอยู่เป็นพักๆ เกี่ยวโน้นฝากนี้ผ่านนั้น จนออกมาในลักษณะจั่วยืนออกมา 4 ทิศ ตามพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ ที่วัดนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นของไอ้เด็กน้อยจอมจับจู๋  (น้องน้ำมนต์)
บันไดนาค
มณฑบหลังคา 4 ชั้น
โครงสร้างหลังคา

  ต่อจากวัดปงสนุก ก็เป็น "วัดศรีรองเมือง" เป็นวัดเก่าแก่ศิลปะพม่า ซึ่งอยู่ในช่วงบำรุงรักษาหลังคา ภายในเป็นโครงสร้างไม้สัก ประดับด้วยกระจกหลากสีสไตท์วัดพม่า
วัดปงสนุก
ห้องน้ำเก่าแก่ภายในวัด
การบุกระจกสีศิลปะแบบพม่า

  หมดแล้วลำปาง เรามุ่งหน้าสู่สุโขทัยเป็นที่ถัดไป ที่ที่จะเป็นจุดพักแรมของวันที่เหลือในทริปนี้ ซึ่งระหว่างทางก็ได้เก็บภาพบรรยาการของบ้านไม้เก่า ได้เห็นถึงความสวยงามของจังหวะการวางจุด เส้น ระนาบ แม้จะมีสายฝนที่ตกลงมาเป็นอุปสรรคต่อการถ่ายภาพ แต่ก็ถือว่าได้ดื่มด่ำบรรยากาศ กลิ่นอายความเป็นท้องถิ่นได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น


28/07/53

   เช้าวันแรกกับสุโขทัย แม้ที่พักจะไม่สะบายเท่าที่ลำปาง แต่ก็ไม่ใช้ปัญหาใหญ่สำหรับนักศึกษาลูกทุ่งลาดกะบังอย่างเราๆ แต่การตกแต่งภายนอกของโรงแรมที่นี้หลอกได้เนียนตาจริงๆ...

   หลังจากกินข้าวเช้าซึ่งหาได้ง่ายในบริเวณใกล้ๆ ก็พร้อมแล้วสำหรับการเดินทางต่อไปยัง "อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย" เริ่มด้วย "สรีดภงค์" หรือ "ทำนบพระร่วง" ที่มีลักษณะเป็นเนินอ่างเก็บน้ำรายรอบด้วยภูเขาเล็กใหญ่
ทำนบพระร่วง

วัดมังกร มีลักษณะเจดีย์ทรงลังกาวางระนาบด้านข้าง ใช้เซรามิกทำกำแพงแก้ว
วัดพระมหาธาตุ เป็นวัดขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองสุโจทัย เจดีย์เป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
พระพุทธรูปยืนในสุ่มทั้ง2ข้าง
    หลังจากเหน็ดเหนื่อยกับการเที่ยวชมวัดก็ได้เวลาพักกินข้าว ที่ศูนย์บริการนักท้องเที่ยวที่ออกแบบใหม่แต่ยังคงมีกลิ่นอายความเป็นสุโขทัยอยู่เต็มเปี่ยมด้วยวัสดุ องค์ประกอบการวางอาคาร
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

   พักเหนื่อยเสร็จก็ได้เวลาเดินทางต่อจุดหมายต่อไปคือ วัดพระพายหลวง วัดศรีชุม และวัดศรีสวาย

วัดพระพายหลวง มีพระปรางค์แลดูเป็นเส้นแกนหลัก
วัดศรีชุม ลักษณะวิหารเป็นทรงเหลี่ยน จุดเด่นอยู่ที่ช่องเปิดด้านหน้า กับพระพุทธรูปองค์ใหญ่ภายใน
พระพุทธรูปภายในวัดศรีชุม
วัดศรีสวาย ด้วยบรรยากาศที่ร่มรื่น บวกกับทางเข้าที่แลดูเชื่อเชิญด้วยเสาขนาบทั้งสองข้าง
ภายในวัดศรีสวายมีการเจาะช่องเปิดที่น่าสนใจ เป็นเส้นตั้ง ตัดกับตัวฐานและลาดดินภายใน
   จบจากการดูวัดก็ได้เวลากลับระหว่างทางก็แวะดูบ้านไม้เก่าๆเช่นเคย

เส้นแสงที่เกินจากช่องเปิดในระนาบแนวตั้ง
เส้นสายที่เกินขึ้นบนผิววัสดุ
ระนาบตั้งและนอน การซ้อนทับของวัสดุต่างชนิดกัน
กำหนด space ด้วยเนินดิน ใช้กระป๋องสีแทนฐานราก
29/07/53

   สถานีต่อไปขอเราคือ "เมืองลับแล จ.อุตรดิตถ์" เหมือนเคยได้ยินในวรรณคดี แต่จำไม่ได้ว่าเรื่องอะไร เป็นโอกาสที่ดีในชีวิตที่จะได้ไปลองแลลับเมืองลับแล........ว่าแล้วก็ออก เดินทาง...จุดหมายวันนี้คือไปกินข้าวเที่ยงและถวายหลอดไฟเนื่องในวันเข้า พรรษาที่ "วัดดอนศัก" ซึ่งระหว่างทางก็มีการแวะเก็บภาพบรรยากาศบ้านชาวบ้านซึมซับความเป็นลับแลที่ไม่แลลับไปตลอดเส้นทาง
บ้านไม้ในช่วงจ.อุตรดิตถ์ ลาดกวาดเรียบดูตอบรับนำไปสู่ตัวเรือน
ความมันของเส้นตั้งที่เกิดจากรั้วระแนงไม้และราวกันตก
space ที่เกิดจากฟั่งชั่นการใช้งาน ดัดแปลงจนเกิดเส้นตั้งเส้นนอน
วัสดุที่เก่าเองตามกาลเวลาเกิดเป็นลายใหม่
ความโมเดิลที่เกิดขึ้นโดยชาวบ้าน

   วัดดอนศักเป็นวัดเก่าแก่ที่ตัววิหารตั้งอยู่บนเนินสูงลดหลั่นไล่ลงมายังลาน ทรายวัดด้านล่าง รอบๆวัดยังเต็มไปด้วยบ้านหลังน้อยหลังใหญ่ ซึ่งผมได้มีโอกาสเดินลัดเลาะไปตามตรอกซอกซอย เจอบ้านเล็กบ้านใหญ่ที่มีการเล่น จุด เส้น ระนาบ ได้อย่างน่าสนใจมากมายหลายหลัง เจอคุณยายกำลังทำ "ขนมตาลต้ม" สำหรับถวายพระ (ไม่พลาดที่จะลองชิม อร่อยสุดๆ มีกลิ่นหอมของตาลกับมะพร้าว หวานแบบเค็มปะแล่มๆ)เดินเพลินจนเกือบจะขึ้นรถไม่ทัน
การลดทอนสัดส่วนหลังคาของวิหารวัดที่ตั้งบนเนินสูง
ทางเดินสู่กุฏิภายในวัดรายล้อมด้วยต้นไม้ใหญ่
ธรรมชาติสร้างสรรค์ศิลปะด้วยตัวเอง
การสมมาตรของยุ้งข้าว
ภูมิปัญญาชาวบ้านที่นำไม้มากั้นขอบเขตถนนกับสวน
การผสมผสานระหว่างโครงสร้างเก่าโครงสร้างใหม่
ศาลาวัดท้องลับแล
บรรยากาศฝนตกที่ตลาดวัดท้องลับแล
อ.ไก่ติดฝน
ยกระดับพื้นด้วยเนินดินไม่ได้มีดีแค่แบ่งขอบเขต ยังกันน้ำฝนท่วมถึงได้อีก
อีกด้านเป็นกันสาดหญ้าแฝก ดูลงตัวและกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม
เพิ่มพื้นที่ประโยชน์ใช้สอยเป็นชั้นวาง มุมนี้ประทับใจมาก
   
ถูกอ.จิ๋วไล่ลงจากรถมาดู ถึงความโมเดิลของแพทเทิลผนัง ไม่ผิดหวังครับที่ต้องฝ่าฝนเดินลงมา
มี อ.ตี๋ เป็นนายแบบ เห็นถึงสัดส่วนของใต้ถุนที่ต้องการจอดรถบรรทุกรวมถึงเส้นสายที่เกิดขึ้น



30/07/53

   เป็นอีกวันที่จะได้ไปชมเมืองเก่า คราวนี้เป็น "อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย"
เริ่มต้นด้วย "วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร" เป็นวันที่สำคัญที่สุด มีจุดเด่นคือพระปรางค์ล้อมรอบด้วยกำแพงและซุ้มประตูทรงเตี๊ย โดดเด่นด้วยพระพุทธรูปที่มีความงดงามอ่อนช้อยสมกับยุคสมัย

สะพานเขวนข้ามแม่น้ำยมเดินเข้าสู่วัด
พระปรางค์วัดพระศรีมหาธาติวรวิหาร
ลานเรียบด้านข้างแสดงถึงความตรงไปตรงมาของแนวแกน

ช่องเปิดดูคล้ายๆกับวัดศรีสวาย
มุมมองจากด้านบนพระปรางค์

   "ศูนย์อนุรักษ์เตาสังคโลก" เป็นพิพิธภัณฑ์แส้งเตาทุเรียง เตาเผาในอดีต ซึ่งการออกแบบต้องคำนึงถึงป้องกันไม่ให้ทำลายตัวเตาเผา ออกแบบให้แสงเข้าถึงได้ง่ายเพราะต้องการใช้ความร้อนจากแสงในการอบดินในระดับ นึง ป้องกันไม่ให้เกิดคราบตะไคร่น้ำจับตรงชั้นดิน แต่ต้องมีช่องระบายอากาศเพียงพอเพื่อให้คนเข้าอยู่ได้  ลักษณะการเดินชมจะไม่เป็นลูป เข้าๆออกๆ เพื่อให้เกินความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอก
ด้านหน้าศูนย์

ส่วนนิทรรศการ
ทางเชื่อมระหว่างส่วนนิทรรศการไปยังส่วนจัดแสดงเตาเผา
ส่วนแสดงเตาเผาทุเรียง
เตาเผาทุเรียง
   ถัดจากตัวศูนย์อนุรักษ์เตาสังคโลกมาด้านหลังก็จะเป็นบ้านไม้เก่าของชาวบ้าน
บ้านที่วัสดุแต่ละชนิดที่นำมาใช้ ล้วนมีจังหวะและอารมณ์ของตัวมันเอง มาอยู่ด้วยกันอย่างลงตัว
space ภายใน มีทั้งช่องระบายลมและช่องแสงทั้งด้าานล่างและด้านบน
   หลังจากพักชมพิพิธภัณฑ์และนอนเล่นตรงชานบ้าน ก็ได้เวลาเดินทางต่อไปยัง"วัดเจดีย์เก้ายอด"เป็นวัดที่สร้างขึ้นบนสันเขา แก้ปัญหาโดยการถม ปรับระดับดินอย่างพอเหมาะไม่ให้เรียบจนเกินไป ย่งคงไว้ซึ่งแนวคอนทัวเดิม การใช้ศิลาแลงทำเป็นเส้นระดับทางสัญจรร่วมกับหินที่มีอยู่เดิมได้อย่างลงตัว
วัดเจดีย์เก้ายอด
ทิ้งความเป็นเนินไว้ ปรับระนาบแค่บางส่วน เหลือไว้ซึ่งอารมณ์ความเป็นภูเข้า "วัดเขา"
เดินถัดเข้ามาอีกหน่อยก็จะพบกับวัดเจดีย์เอน
   จากนั้นก็มายังส่วนกำแพงหลวง เข้าสู้เส้นทางเข้าชมอุทยาน เริ่มเดินตะลุยเข้าไปยังเมืองโบราณผ่านทุ่งหญ้าสีเขียวขจี ลัดเลาะกำแพงเมือง ผ่านปราสาท วิหาร
เขียวขจี
ป้ายหินแสดงผังเมืองโราณ ออกแบบมาเพื่อให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม
ลวดลายโบราณ
วัดนางพญา
วัดเจดีย์เจ็ดแถว

วัดช้างล้อม

วัดสุวรรณคีรี

31/07/53

   วันนี้เรามีคิวที่จะไป "บ้านอาจารย์ตี๋"  ที่ อ.กงไกลาศ จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นชุมชนย่านการค้าที่มีลักษณะเป็นบ้านไม้เปิดด้านหน้าเป็นร้านค้าออก สู่ถนน มีจุดเด่นตรงช่องเปิดหน้าบ้าน ที่คอยถ่ายเทลมภายใน เกือบทั้งหมดประตูจะเป็นบานเฟี้ยมไม้......เดินเยี่ยมชมลัดเลาะลำคลองผ่าน บ้าน ผ่านวัด แล้ววกกลับมากินข้าวเที่ยงที่บ้าน อ.ตี๋ ซึ่งเดิมทีเป็นบ้านไม้เก่าแต่ได้มีการต่อเดิม โดยใช้วัสดุที่หาเอาได้ง่ายมาประยุกต์เป็นไอเดียในการสร้างและตกแต่ง บ้านมีความโปร่งจากหน้าบ้านไปถึงสวนหลังบ้านทำให้บรรยากาศเย็นสบายจนน่าแปลก ใจ........ เพราะก่อนเข้ามายังเดินให้แดดเผาเล่นอยู่เลย และที่สำคัญ การวางตำแหน่งขององค์ประกอบต่างๆลงตัวถึงขนาดรองรับนักศึกษาที่มาเยี่ยมชม รวมแล้วกว่า 80 ชีวิต ว่าแล้วก็กินข้าว ทั้งผัดไท ก๋วยเตี๋ยว ขนมต้ม วุ่นมะพร้าว...... ที่กล่าวมาทุกอย่างยัดลงในท้องได้ยังไง ??   ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจอย่างยิ่งที่ได้มาเยี่ยมชมบ้านอาจารย์ ตี๋ในวันนี้....
มุมพักผ่อนภายในบ้าน
มุมโต๊ะทำงาน

มุมโต๊ะกินข้าว
มุมสวนหลังบ้าน
ชุมชนระแวกนี้ล้วนแล้วแต่เป็นร้านค้าขาย

   หลุดจากบรรณากาศครอบครัวๆ เป็นกันเอง คราวนี้ก็ถึงคิว "สนาบินสุโขทัย" คราว นี้เราจะได้เห็นการนำอัตลักษ์ความเป็นสุโขทัยที่เราไล่ดูมาตั้งแต่ต้น มาประยุกต์ให้กลายเป็นงานร่วมสมัย ทั้งวัสดุ รูปแบบหลังคา ช่องเปิด ถูกหยิบใช้แล้วนำมาผสมผสานได้อย่างลงตัว เรียกได้ว่า นี้แหละสนาบินสุโขทัย 
อาคารแยกหลังมีทางเชื่อม
โชว์โครงสร้างหลังคา มองเห็นเส้นแสง
มุมมองภายนอก


เพิ่มบรรยาการด้วยสวนกลางสระน้ำ
นำเอารูปปูนปั้นมาใช้ขนาบทางเข้า


   ถัดจากสนาบินสุโขทัยก็จะเป็น "โรงแรมสุโขทัย"  แนวทาง การวางผังเมืองได้ถูกนำมาใช้ให้เห็นได้ชัดเจน ทั้งเรื่องแนวกำแพงที่รายล้อมด้วยสระน้ำสื่อถึงคูเมืองโบราณ แนวช่องเปิด ดีเทลบรรได ถูกหยิบยกมาใช้ให้เราได้เห็นกัน
มุมมองภายนอกมีลักษณะคล้ายกำแพงเมือง
ล้อกับ space รอบวิหาร
องค์ประกอบทุกอย่างล้วนลงตัว แลดูมีชีวิตชีวา สัมผัสได้ถึงกลิ่นอาย กลั่นลึกไปทุกอณูของความรู้สึก
มีน้ำเป็นตัวแบ่ง space
การซ้อนกันระหว่างช่องเล็กนำสายตาและช่องใหญ่เปิดมุมมอง
space ถูกกั้นด้วยน้ำ


ภาพติดฝาผนัง

   ปิดท้ายของวันนี้ด้วยการแวะถ่ายรูปบ้านไปตลอดทางจนฟ้าสลัว





1/08/53

   วันสุดท้ายแล้ว....นึกถึงงานที่กองอยู่ก็ไม่อยากจะกลับไปเจอความจริง แต่ว่าด้วยการเสพความเป็นพื้นถิ่นจนแทบจะล้นออกมา ก็รู้สึกดีใจและเพียงพอกับทริปนี้ โดยขากลับเราจะไปไหว้พระที่พิษณุโลกกัน
   "วัดราชบูรณะ" ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก  อุโบสถมีลักษณะชายคาเป็นนาค 3 เศียร มีลักษณะอ่อนช้อยงดงาม เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง

อุโบสถวัดราชบูรณะเป็นแบบสมัยสุโขทัย แตกต่างกันตรงที่ช่องเปิดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าช่องเดียว ไม่เป็นแถบยาว และมีหลายช่องแบบที่ปรากฏในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและศรีสัชนาลัย

ลักษณะชายคาที่เป็น นาค 3 เศียร

ทุกปัญหายอมมีทางออก
   "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ( วัดพระพุทธชินราช )" เป็นวิหารทรงโรง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช ตัวพระวิหารสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจึงเป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงสุโขทัยที่มีความสง่างาม
 ผังอาคารของวัด จะไม่ใช่สี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่จะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่ล้อมรอบด้วยระเบียงคด มีองค์พระรอบ หันหน้าออกจากผนัง เป็น Approach นำผู้คนให้เดินเข้าสู่พื้นที่ภายในได้อย่างแยบยล





   ถึงแล้วลาดกะบัง ต้องขอบพระคุณจารย์จิ๋ว และอาจารย์ทุกท่านที่คอยบรรยายให้ความรู้อย่างเป็นกันเอง ขอบคุณพี่แป๊ะ ลุงสมชายที่คอยขับรถให้ถึงที่หมายปลอดภัยโดยสวัสดิภาพ ขอบคุณถังน้ำแข็งหลังรถ ขอบคุณคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ลาดกะบังที่มีการจัดทริปดีๆแบบนี้ ขอบคุณเพื่อนๆที่ร่วมถ่ายรูปเก็บความทรงจำดีๆ เพราะจะมีสักกี่ครั้งในชีวิตที่ร่วมตระลอนเที่ยวไปกับเพื่อนนับ 60 คน นาน 9 วันเต็มๆ  

......All For Man

Niti Thongsong