วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

บันไดและบันไดหนีไฟ


บันไดและบันไดหนีไฟ
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคารพ.ศ. ๒๕๔๔


no. 38 Residential building should have at least 1 stair which its width is not less than 90 cm. One flight should not higher than 3 m. The riser should not higher than 20 cm. The tread’s width, excluding the overlapping nose, should not be less than 22 cm. Also the area before the stair should have its width and length not less than the stair’s width.

A stair, higher than 3 m., should have a landing every 3 m. or less. Then its landing should have its width and length not less than the stair’s width. Its headroom should be higher than 1.9 m.

no. 39 Following types of buildings; Theatres, convention halls, factories, hotels, hospitals, libraries, department stores, markets, service places which defined by the Building code of Service Places, Airports, transportation hubs which was built or renovate higher than 1 storey. Not only they should have ordinary stairs, but also at least one specific fire exit stair which have no obstructions on the path to the exit.

A public building that has its basement. Not only it should have ordinary stairs, but also at least one specific fire exit stair.

no. 40 A building that has its basements, 2 storey or more. Not only it should have ordinary stairs, but also at least one specific fire exit stair.

no. 41 A fire exit stair must made of permanent fire resistant materials. Its width should not less than 90 cm. and not more than 150 cm. The riser should not higher than 20 cm. The tread’s width should not be less than 22 cm. Its landing shoud have its width and length not less than the stair’s width. The handrail’s height is 90 cm. Spiral stair type is prohibited.

An area before the fire exit stair should have its width not less than the stair’s width. The other side’s width should not less than 1.50 m.

In case of using a fire exit slope; its slope should not less than 12%

no. 42 A fire exit in any buildings, excluding high rise buildings, should have its width not less than 90 cm. Surrounded by rigid walls made of permanent fire resistant materials, except the ventilation duct and fire exit door areas. Each floor should have ventilated duct, which open out of the building, and their total areas should not less than 1.40 sq.m. Provided sufficient lighting in day/night time.

A fire exit stair in the Special big building (according to the first paragraph of the Building Code) should have a pressurize shaft which have pressure rate not less than 38.6 Pa.m. and work automatically when the incident happens. The fire exit on the first floor should located in the area that can easily goes out of the building.

no. 43 Any rowhouses with not more than 4 storeys, or not higher than 15 m. from road level, the fire exit stair can be in a vertical line but it must have landings on every floors. Each landing width should be not less than 60 cm. The space between each steps should not more than 40 cm.


กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522


no. 27 A building with 4 or more storeys and not higher than 23 m. and a 3-storey building with a roof deck (area more than 16 sq.m.). Not only they should have ordinary stairs, but also at least one specific fire exit stair which made of fire resistant materials. The path to the exit must have no obstructions.

no. 28 A fire exit stair’s slope is wider than 60 degrees. Except a rowhouse that is not higher than 4 storeys can have a fire exit stair with slope narrower than 60 degrees, but it must have landings on every floors.

no.29 A fire exit stair located inside the building should have its width not less than 60 cm. Each walls that goes along with the fire exit stair must be made of permanent fire resistant materials.

If fire exit stair (according to paragraph 1) does not reach ground floor, there should be an extended metal stair.

no. 30 A fire exit stair located inside the building should have its width not less than 80 cm. Surrounded by rigid walls made of permanent fire resistant materials, except the ventilation duct and fire exit door areas. Each floor should have ventilated duct, which open out of the building, and their total areas should not less than 1.40 sq.m. Provided sufficient lighting in day/night time.

no.31 Fire exit stair’s width must be not less than 80 cm, its height is not lower than 1.90 m. and its door must swing to outside. The door must automatically shut and can open any time. Also there should be no obstruction before the door or the exit.

no.32 An area before the fire exit stair should have its width not less than the stair’s width. The other side’s width should not less than 1.50 m.

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

Green Architecture

 Green Architecture



แนวความคิดสถาปัตยกรรมสีเขียว Green Architecture Concept)
สถาปัตยกรรมสีเขียวเป็นผลผลิตจากระแสความคิดใหม่ในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีรากฐานมาจากสถาปัตยกรรมยั่งยืน Sustainable Architecture) ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาไม่เกิน 20 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่แนวทางการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานด้วยวิธี Passive Design) ในยุโรปและอเมริกาที่ไม่ประสบความสำเร็จ กระแสความคิดของสถาปัตยกรรมสีเขียวเกิดขึ้นได้ มิใช่เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปรากฏการณ์เรือนกระจก Green House Effect) ปรากฏการณ์หลุมโอโซน Ozone House) เกาะความร้อน Urban Heat Island) ฝนกรด Acid Rain) การทำลายป่า Deforestation) รวมทั้งการแพร่กระจายของโรคติดต่ออันเกิดจากสภาพอากาศของโลกที่เปลี่ยนไป Climate Change) แต่เกิดจากผลกิจกรรมของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศโลก จากการบริโภคพลังงานจากแหล่งพลังงานดั้งเดิมเช่น ถ่านหิน หรือนํ้ามันดิบ และก๊าซนี้จะทำให้ความร้อนจากผิวโลกไม่สามารถแผ่รังสีกลับสู่อวกาศได้ทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อน Global Warming) ปัญหาโลกร้อนจะทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกสารพัดโดยเฉพาะภาคการเกษตร ในประเทศเกษตรกรรรมอย่างประเทศไทยจะได้รับผลกระทบรุนแรงมาก จะเห็นว่าปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาที่กว้างขวางและซับซ้อนเกินกว่าวิชาความรู้แขนงใดแขนงหนึ่งจะเข้าแก้ไขได้ ดังนั้นการสร้างสถาปัตยกรรมสีเขียว จึงต้องอาศัยการบูรณาการของวิชาความรู้ทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ Building Science) การวางผังเมือง การบริหารการก่อสร้าง โดยกรอบความคิดของสถาปัตยกรรมสีเขียวก็คือประโยคง่ายๆที่ทุกคนมักจะพูด “Human beings should live in harmony with nature”

ลักษณะเบื้องต้นของ Green Buildings
 ถ้ามองหลักการของ Passive Design) ในสมัยทศวรรษที่ 70 ที่เทคโนโลยีอาคารยังไม่เจริญนัก ที่เราจะนำมาใช้เป็นแม่แบบของอาคารสีเขียว จะพบว่าการออกแบบให้ตอบรับกับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดสภาวะน่าสบายแต่ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการออกแบบอาคารสีเขียว เพียงแต่เป้าหมายมิใช่เพียงแค่การลดการใช้พลังงานอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว เป้าหมายของอาคารสีเขียวที่เพิ่มมาก็คือการผสมผสานองค์ความรู้จาก Passive Design) เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ของศตวรรษที่ 20 ในการที่จะใช้ประโยชน์จากพลังงานธรรมชาติที่สะอาด และไม่มีวันหมดโดยตรง ในอีกความหมายหนึ่งก็คือแนวคิดอาคารสีเขียวจะไม่พยายามเสนอแนะการลดการใช้พลังงาน หากพลังงานนั้นมีความจำเป็นต่อการผลิตหรือการอยู่อาศัยของมนุษย์ แต่จะเสนอแนะให้อาคารใช้พลังงานจากแหล่งที่สะอาด และไม่มีวันหมดไป Renewable Energy) ซึ่งในเบื้องต้นอาคารสีเขียวจึงจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนดังต่อไปนี้
สอดคล้องกับสภาพอากาศ หมายถึง การออกแบบจัดวางพื้นที่ใช้สอยอาคารตามทิศทางแดดทิศทางลมธรรมชาติ และการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างตกแต่งที่ทำให้ อาคารเกิดความน่าสบาย ไม่ร้อน ไม่หนาว ไม่ชื้น ไม่แห้งเกินไป ก่อนที่จะเริ่มอาศัยเครื่องจักรกลที่บริโภคพลังงานซึ่งหมายถึงการออกแบบ Passive Design) นั้นเอง

       ความน่าสบาย มีหลายครั้งที่ความพยายามประหยัดพลังงานอย่างงกไม่อาศัยสติปัญญา คือการงดใช้พลังงานที่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งพบได้ทั่วไปในหน่วยงานราชการของรัฐ ก่อผลเสียตามมาที่ทำให้อาคารไม่น่าสบาย ร้อนเกินไป หนาวเกินไป แสงสว่างไม่เพียงพอ เสียงดัง รบกวน หรือคุณภาพอากาศภายในไม่สะอาดไม่บริสุทธิ์ นอกจากจะก่อให้เกิดผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร ประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษา แล้วยังมีผลเสียทางเศรษฐกิจจากการทำงานของบุคลากรประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักศึกษา แล้วยังมีผลทางเศรษฐกิจจากการที่อาคารและอุปกรณ์อาคารมิได้ถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ตามที่ได้ลงทุนก่อสร้างสูญเสียทรัพยากรไปตั้งแต่ต้น ด้วยเหตุนี้ องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมสีเขียวจึงต้องกำหนดให้อาคารมีการักษาสภาวะน่าอยู่สบายของมนุษย์ให้อยู่เกณฑ์มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นสากลในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้



สภาวะน่าอยู่สบายเชิงอนุภาค Thermal Comfort
แสงสว่าง Visual/Lighting Comfort
เสียง Acoustical Comfort
คุณภาพอากาศภายใน Indoor Air Quality: IAQ
การใช้พลังงานจากธรรมชาติ นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ทำให้อาคารบ้านเรือนเลือกใช้พลังงานจากแหล่งนํ้ามันดิบที่ทำลายสภาพแวดล้อมดังกล่าวแล้ว สถาปัตยกรรมสีเขียวจึงมุ่งส่งเสริมให้เกิดการนำพลังงานจากธรรมชาติจากแหล่งอื่นๆ มาแทนที่พลังงานสกปรก ซึ่งตามความจริงแล้ว พลังงานจากดวงอาทิตย์จำนวนมหาศาลได้เข้ามาสะสมบนโลก และรอให้ถูกนำมาใช้เพียงแต่การนำมาใช้อาจจะต้องอาศัยองค์ความรู้มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้แหล่งพลังงานที่อาคารสามารถนำมาใช้มักจะเป็นพลังงานที่หาได้ทดแทนได้ Renewable Energy) ซึ่งจะได้แก่


 พลังงานจากแสงอาทิตย์ ด้วยการใช้รังสีจากดวงอาทิตย์เพื่อให้ความร้อนและผลิตกระแสไฟฟ้า
พลังงานจากนํ้า จากการผลิตกระแสไฟฟ้าและการใช้เป็นแหล่งความร้อนความเย็น
พลังงานจากดิน จากการสะสมความร้อนในดิน
พลังงานลม จากการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยตรงและการเพิ่มสภาวะน่าสบาย ด้วย Ventilation
พลังงานจากพืชพันธุ์ จากการกันแดดและการระเหยของนํ้าเพื่อสร้างความเย็น
พลังงานจากสัตว์ มูลสัตว์ จากการสร้างพลังงานชีวมวล Biomass


หลักการออกแบบ Green Buildings

หลักการออกแบบอาคารสีเขียวประกอบด้วยปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้งสามส่วนได้แก่ ตัวอาคาร สภาพแวดล้อม และการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้ามาเชื่อมโยงให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างอาคารและสภาพแวดล้อม ซึ่งการใช้เทคโนโลยีต่างๆก็จะถูกผสมผสานเข้าไปในทุกส่วนของอาคาร ตั้งแต่การเริ่มต้นสร้างแนวคิดในการออกแบบอาคารไปจนถึงการก่อสร้าง การใช้งาน และการวางแผนปรับปรุงและย่อยสลายส่วนประกอบอาคาร หลักการออกแบบอาคารสีเขียวทั่วไปมีดังนี้
ตัวอาคาร Building Fabric


ฉนวนกันความร้อนโปร่งใส Transparent Insulating Material: TIM
การใช้แผงโซล่าร์ Bldg. Integrated Photovoltaic & Solar Collector
การกักเก็บความร้อนความเย็น Thermal Storage
แสงสว่างธรรมชาติ Daylight
การใช้วัสดุประสิทธิภาพสูง LowE Materials
การประยุกต์ใช้ร่มเงาจากต้นไม้ Planted Surfaces
การทำความเย็นวิธีธรรมชาติในเวลากลางคืน Night Cooling Infrared Irradiation) 
สภาพแวดล้อม Exterior Space
การจัดรูปทรงและทิศทางอาคาร Building Forms & Sun Shading
การระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติ Natural Ventilation
การสร้างร่มเงาให้อาคาร Solar Energy & Sun Shading
การใช้ทรัพยากรแหล่งนํ้าใต้ดิน Groundwater & Aquifer
การทำความเย็นความร้อนใต้ดิน geothermal Cooling Heating
การใช้แหล่งนํ้าบนดิน Water Surfaces

 
  
เทคโนโลยีอาคาร Building Technology
การใช้เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า Photovoltaic : PV
กังหันลมผลิตไฟฟ้า wind Generator
การขุดเจาะใต้ดินเพื่อทำความเย็น Bore Holes
การสร้างคลังนํ้าแข็ง Ice Storage
การใช้เครื่องทำความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ Active Solar Collector
การใช้พลังงานจากดิน Geothermal
การใช้พลังงานชีวมวล Biomass

  



ขณะนี้แนวคิดการออกแบบ "บ้านดิน" ได้รับความนิยมมากในประเทศไทย เพราะราคาถูก สร้างง่าย และให้บรรยากาศดีๆ ใกล้ชิดธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งรีสอร์ทในแถบราชบุรีต่างๆ ก็นำไปปรับใช้กันมากมาย 






แนวทางการประเมิน Green Buildings

การที่จะนำคำว่า Green Buildings ไปเป็นพื้นที่พิเศษเมืองพัทยา เพื่อสนับสนุนภาครัฐและเอกชนในการแสวงหาผลประโยชน์ทางการตลาดในโครงการอสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่สมัครเข้ารับการช่วยเหลือจากภาครัฐหรือองค์กรนานาชาติด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้มีการโฆษณาชวนเชื่อว่าโครงการที่กำลังออกแบบก่อสร้างโครงการนั้นๆเป็นอาคารสีเขียว การที่จะพิสูจน์ยืนยันว่าโครงการต่างๆนั้นได้รับการออกแบบเป็น Green Buildings อย่างถูกวิธี จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดเป็นมาตรฐานขึ้นมา ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีกาให้คะแนนตามรายการ Checklist) หรือเรียกว่าแบบประเมินอาคาร ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกได้
พัฒนาแบบประเมินอาคารที่เรียกว่า ELLED หรือ Leadership in Energy & Environmental Design โดยอาคารผ่านเกณฑ์แต่ละข้อก็จะได้คะแนนสะสมจนได้คะแนนรวมเพื่อเสมือนที่จะให้ ดาวแก่อาคาร เป็นดาวเงิน ดาวทอง หรือดาว Platinum ซึ่งเมื่อคณะที่ปรึกษาฯ ได้ศึกษาในเบื้องต้นแล้ว ได้เลือกกรณีของ LEED มาเป็นแนวทางการศึกษา ในการวางแนวทางการออกแบบและประเมินอาคารสีเขียว ซึ่งจะพิจารณาเสนอให้ออกแบบเป็นเทศบัญญัติท้องถิ่นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการควบคุมอาคารและการปรับเปลี่ยนไปสู่สถาปัตยกรรมสีเขียวที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาต่อไป ทั้งนี้ในขั้นต้น ได้แยกเกณฑ์การให้คะแนนเป็นข้อๆ ดังนี้
Sustainable Site 14 คะแนน) ในหัวข้อนี้จะเน้นที่การเลือกสถานที่โครงการที่ไม่รุกลํ้าพื้นที่ที่เป็นแหล่งธรรมชาติเดิม ซึ่งหากใช้สถานที่เดิมที่เคยทำการก่อสร้างแล้ว ก็จะได้คะแนนในหัวข้อนี้มาก นอกจากนี้การให้คะแนนในหัวข้อนี้ก็จะเกี่ยวข้องกับการพยายามรักษาหน้าดินเดิม การป้องกันการกัดกร่อนของหน้าดิน การจัดการระบบระบายนํ้าฝน การลดมลภาวะทางด้านแสงสว่างที่รบกวนสภาพแวดล้อมข้างเคียงในเวลากลางคืน การเลือกสถานที่ตั้งการคมนาคมขนส่งมวลชนให้สามารถเข้าถึงได้ เพื่อประหยัดพลังงานจากการใช้นํ้ามันหรือรถยนต์ส่วนตัว การมีพื้นที่สีเขียวเพื่อลดภาวะเกาะร้อน Heat Island• Erosion & Sedimentation Control Required
• Site Selection
• Development Density
• Brownfield Redevelopment
• Alternative Transportation
• Reduced Site Disturbance
• Storm water Management
• Heat Island Effect
• Light Pollution Reduction


Water Efficiency 5 คะแนนในหัวข้อนี้จะเน้นที่การใช้ทรัพยากรนํ้าอย่างมีประสิทธิภาพ การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมที่ไม่สิ้นเปลืองนํ้าเพื่อการบำรุงรักษาต้นไม้ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการบำบัดนํ้าเสียจากโครงการ


• Water Efficient Landscaping
• Innovative Wastewater Technology
• Water Use Reduction

Energy and Atmosphere 17 คะแนน) ในหัวข้อนี้จะเน้นการใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้พลังงานทดแทนอย่างเหมาะสม ทางด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ข้าวของอาคารจะต้องมีแผนการจัดการพลังงาน และแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์งานระบบอาคารอย่างเหมาะสมและสมํ่าเสมอ รวมทั้งการตรวจวัดการใช้พลังงานของอาคาร Measurement &Verification) นอกจากการออกแบบอาคารให้มีประสิทธิภาพตั้งแต่ต้น การจัดการอาคารภายหลังอาคารได้รับการเปิดใช้งานแล้ว ก็จัดเป็นเรื่องสำคัญมากด้วย ทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับการรักษาบรรยากาศโลก หัวข้อนี้ยังจัดให้คะแนนแก่การออกแบบที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ที่พบว่าทำให้เกิดรูโหว่ของโอโซนชั้นบรรยากาศโลกอีกด้วย
• Fundamental Building Systems CommissioningRequired
• Minimum Energy Performance Required
• CFC Reduction in HVAC& R Equipment Required
• Optimized Entergy Performance
• Renewable Energy Additional Commissioning
• Ozone Depletion
• Measurement & Verification
• Green Power

Materials and Resources 13 คะแนน) ในหัวข้อนี้จะเน้นการใช้วัสดุก่อสร้างอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นวัสดุที่มาจากแหล่งที่ต้องทำลายสิ่งแวดล้อม โดยหลักการทั่วไป ได้แก่ วัสดุรีไซเคิล หรือวัสดุก่อสร้างท้องถิ่นที่ได้มาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าพลังงานในการขนส่งมาจากแหล่งอื่น รวมทั้งการวางแผนจัดการขยะจากการก่อสร้างอาคารด้วย
• Storage & Collection of Recyclables Required


• Building Reuse
• Construction Waste Managemen
• Resource Reuse
• Recycled Content
• Local / Regional Materials
• Rapidly renewable Materials
• Certified Wood

5. Indoor Environment Quality 15 คะแนน) ในหัวข้อนี้จะเน้นที่การออกแบบก่อสร้างและบริหารจัดการให้อาคารมีสภาวะแวดล้อมที่น่าสบาย ปลอดสารพิษ โดยวิธีการใช้วัสดุก่อสร้างและตกแต่งอาคารที่เหมาะสม การจัดให้มีการระบายอากาศที่เพียงพอ การได้รับแสงสว่างจากธรรมชาติ รวมถึงการจัดการบริหารอาคารและการทำความสะอาดอย่างเหมาะสมและสมํ่าเสมอโดยมีหัวข้อที่ให้คะแนนดังนี้
• Minimum IAQ Performance Required
การควบคุมควันบุหรี่ Environmental Tobacco Smoke Control) (Required
การตรวจจับปริมาณความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์Carbon DioxideCo2Monitoring
ประสิทธิผลของการระบายอากาศ Ventilation Effectiveness
แผนการก่อสร้างที่มีการจัดการคุณภาพอากาศภายใน Construction IAQ Management Plan
การใช้วัสดุอาคารที่มีการปล่อยสารเคมีหรือสารพิษต่างๆ LowEmitting Materials
การควบคุมสารเคมีและสารมลพิษภายใน Indoor Chemical & pollutant Source Control
การควบคุมระบบอาคาร Controllability
สภาวะน่าสบายเชิงอุณหภาพ Thermal Comfort
การให้แสงสว่างธรรมชาติและทิวทัศน์ Daylight&Views

6.Innovation and Design Process 5 คะแนน) ในหัวข้อนี้จะเน้นที่การออกแบบส่วนประกอบอื่นๆ ที่ผู้ออกแบบอาคารสร้างสรรค์ขึ้นมาให้เป็นนวัตกรรมที่ช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปมักจะได้แก่องค์ประกอบการออกแบบพิเศษที่มีลักษณะนอกเหนือไปจากกฎเกณฑ์ทั่วไปที่กำหนดไว้ในข้อ 5 ทั้งนี้แบบประเมิน LEED อีกด้วย
ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรอง LEED Accredited Professional
นวัตกรรมในการออกแบบ Innovation in Design

คะแนนเต็มมีทั้งสิ้น 69 คะแนน ซึ่งเมื่อรวมคะแนนทั้งหมดแล้ว หากได้คะแนนรวม 32 คะแนน จะได้ระดับ “Certified” ถ้าได้คะแนน 38 คะแนน จะได้ระดับ “Silver” ถ้าได้คะแนน 51 จะได้รับ “Gold” และถ้าได้คะแนน 69 จะได้รับระดับ “Platinum” ผลที่ได้นี้จะเป็นแรงจูงใจให้มีการคิดค้นออกแบบ และก่อสร้าง Green Buildings กันมากขึ้น
บทสรุป
สำหรับแนวทางการนำเอาแนวคิดสถาปัตยกรรมสีเขียว มาปรับใช้กับพื้นที่พิเศษดังกล่าว
จำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่การศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อม สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ ว่าจะมีผลอย่างไรต่อการกำหนดแนวทางการออกแบบให้สอดคล้องกัน โดยศึกษาตัวอย่างจากการออกแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น Vernacular Architecture) ที่มีอยู่เดิมอย่างพินิจพิจารณาว่า ในอดีตมีวิธีการแก้ไขปัญหาให้อาคารอยู่สบายได้อย่างไรในสภาพอากาศต่างๆ ซึ่งองค์ความรู้ คู่มือมักไม่ปรากฏเป็นตำราคู่มือการออกแบบที่ชัดเจน ฉะนั้นจึงต้องศึกษาความรู้เทคโนโลยีด้านอื่นๆ เพิ่มเติมให้เป็นลักษณะ Holistic approach เพราะทุกอย่างจะเข้ามาเชื่อมโยงกันในที่สุดแต่อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีสมัยใหม่มิใช้สิ่งสำคัญที่สุดในการได้มาซึ่งสถาปัตยกรรมสีเขียว แต่แท้จริงแล้วคือการผสมผสานแนวคิดอนุรักษ์เข้ากับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งคณะที่ปรึกษาฯจะได้นำเสนอเป็นแนวทางในรายละเอียดในขั้นต่อไป
อีกประการหนึ่งก็คือ ในพื้นที่พิเศษเมืองพัทยา มิใช่เมืองเพิ่งเกิด มีอาคารบ้านเรือนที่อยู่ในสภาพเดิมมากมายที่จำเป็นจะต้องวางแนวทางการสำรวจประเมินสภาพ และวางแนวทางการ
ปรับปรุงและปรับเปลี่ยนไปสู่แนวทางและลำดับการพัฒนาไปสู่เมืองสีเขียวอย่างเป็นขั้นตอนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่ต้นทา อย่างน้อยที่สุด ควรมีการวางมาตรการ การใช้แนวคิด Recycle มาใช้ร่วมกับการปรับปรุงอาคารเดิมให้เป็นสถาปัตยกรรมสีเขียว ไม่ว่าจะเป็น การ Recycle วัสดุ ขยะ นํ้าใช้ นํ้าเสีย ในทุกระดับการใช้งาน จากระดับบ้าน สู่ชุมชน สู่เมือง โดยรัฐควรมีมาตรการ Incentive ต่างๆสนับสนุน ทั้งนี้จะเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวในเขตพิเศษเมืองพัทยาอย่างยั่งยืน